ส่วนแรกของตอนที่แล้วเป็นการเตรียมข้อมูลส่วนของรายรับ โดยส่วนของรายจ่ายนั้น เราไม่ต้องเตรียมอะไร เพราะใช้วิธีหักออก แบบเหมาจ่าย 60% ตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องเก็บบิลค่าใช้จ่ายและค่าสินค้าต้นทุนใดๆ
ส่วนตอนที่ 2 นี้ เป็นเรื่องการหักรายจ่ายเพิ่มเติม ที่สรรพากร และ รัฐบาลอนุญาตให้เราหักเพิ่ม เรียกว่า ค่าลดหย่อน ซึ่ง มีลดหย่อนส่วนตัว 60,000 ให้ทุกคน และ ยังมีลดหย่อนบุตร ลดหย่อนบิดามารดาอายุมากกว่า 60 ปี และ ลดหย่อนดูแลผู้พิการ ข้อมูลเงื่อนไขเหล่านี้อ่านได้เพิ่มเติมที่เว็บบัญชีอื่นๆ ซึ่งเราจะสรุป สิ่งที่ต้องรู้เท่านั้น
“ตอนที่ 2” เตรียมเอกสารลดหย่อน
ค่าลดหย่อนนั้นมีทั้งปี ให้เราเก็บเอกสารไว้เลย ทั้งที่เป็นกระดาษและเป็นไฟล์ เอกสารส่วนนี้จะเป็นเอกสารที่มีทั้งลิงก์เข้าระบบสรรพากร และ ไม่ลิงก์เข้าระบบ ทำให้เราต้องเก็บเอกสารไว้ และนำมากรอกได้ (อย่าปลอมแปลงนะ เพราะมีความผิดร้ายแรง) ให้เก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี ไปยัน ท้ายปีเลย เพราะเราจะได้ใช้ 2 ครั้ง (ใบไหนยังไม่ออก ก็ยังไมไ่ด้ใช้)
- ประเภทเอกสารหลักๆ (ต้องระบุชื่อ ที่อยู่ เราครบถ้วน)
- ใบรับรอง ดอกเบี้ยค่าบ้าน / คอนโด (ธนาคารที่เราผ่อนอยู่จะออกให้ทุกปี หลังปีใหม่ ช้าบ้างเร็วบ้าง โทรสอบถามเอา)
- ใบรับรอง เบี้ยประกันชีวิต / สุขภาพ (ประกันเราจะออกให้หลังปีใหม่ บางเจ้าต้องทำเรื่องขอ)
- ใบรับรอง เลี้ยงดูบิดามารดา อายุเกิน 60 (มีรายได้น้อยกว่า 30000 ต่อปี) ดาวน์โหลดจากเว็บสรรพากร (เตรียมไว้)
- ใบบริจาค (สำคัญมากกกกกก) บริจากวัดไหน ปอเต๊กตึ๊ง โรงพยาบาล โรงเรียน หรือ โครงการใดๆ มูลนิธิใดๆ อย่าลืมขอใบเสร็จมา หักลดหย่อนได้ทุกใบ เพราะถือว่า เราจ่ายภาษีพัฒนาสังคมของประเทศเรา ได้บุญแล้วยังหักภาษีได้ด้วย ในส่วนนี้ มีหักได้ 1 เท่า 2 เท่า ค่อยไปแบ่งกรอก ในช่องฟอร์ม
- ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ ในกรณีรัฐบาลประกาศ ซื้อสินค้าประเภทใด ลดหย่อนได้ หรือ ช๊อปช่วยชาติ
- ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (ทวิ 50) ในกรณี รับเป็นค่าจ้างใดๆ หรือ เกิดจากรายรับใดๆ
- ให้สแกนเก็บเป็นไฟล์ PDF เตรียมใช้ส่งเข้าระบบภาษีของสรรพากร เผื่อมีการเรียกขอ การเรียกขอดู (เวลาขอดู จะขอดูหลักฐานทุกๆ การลดหย่อน ต้องส่งหมด) เกิดขึ้นเมื่อใด ส่วนมากจะมีการเรียกขอเมื่อ
- ไม่เคยลดหย่อนด้วยรายการนี้ มาก่อน เช่นไม่เคยขอลดหย่อนด้วยดอกเบี้ยบ้านมาก่อน ปีนี้ซื้อบ้านก็มีดอกเบี้ยมาลดหย่อน หรือ ประกันชีวิต เป็นต้น
- ยอดลดหย่อนเยอะ เช่น ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยประกัน
- มีการขอคืนภาษีที่มีการหัก ณ ที่จ่ายนำส่งไป ปกติ หากเรามีการรับจ้างใดๆ แล้วได้รับค่าจ้าง นายจ้างจะมีใบ ทวิ 50 ให้เรา เป็นใบหัก ณ ที่จ่าย เราก็ต้องเก็บใบนี้ไว้ เพื่อมาขอคืนภาษีได้ ในกรณีเราไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษีหลังหักลดหย่อน
เห็นไม๊ว่า ง่ายนิดเดียว เก็บ และ สแกน มาอ่านตอนต่อไป ตอนที่ 3 การยื่นภาษี
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.